เป็นเวลาเกือบ 10 ปี นับตั้งแต่การเริ่มก่อตั้ง Raspberry Pi Foundation ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกคือการสร้างคอมพิวเตอร์ราคาถูก เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าถึงเพื่อการศึกษาเรื่องวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ง่ายตั้งแต่ในระดับโรงเรียน เราได้เห็นบอร์ด Raspberry Pi ออกมาสู่ท้องตลาดหลายต่อหลายรุ่น ได้เห็นซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้ออกมาให้ใช้มากมายบน Raspberry Pi OS และได้เกิดนิตยสาร The MagPi magazine ที่ปัจจุบันได้เดินทางมาถึงฉบับที่ 98 แล้ว แต่บางครั้งผมเองก็เกิดคำถามกับตัวว่าบอร์ด Raspberry Pi ที่ออกมาทั้งหมดนั้นเหมาะกับการศึกษาของเด็ก ๆ มากน้อยแค่ไหน?
ซึ่งในปีที่แล้วทาง Raspberry Pi Foundation ก็ได้ลองเชิงออกผลิตภัณฑ์เป็น official keyboard และ mouse ออกมาใช้งานร่วมกับบอร์ด Raspberry Pi ที่บรรจุไว้ใน official case ที่ดูน่าใช้และเป็นมิตรกับเด็ก ๆ มากขึ้น แต่ก็ยังให้ภาพที่ไม่ชัดเจนกับคำว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อการศึกษาซักเท่าไหร่
ซึ่งในที่สุดแล้ว ทาง Raspberry Pi Foundation ที่ทำการบ้านมาค่อนข้างดี กับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดในชื่อ Raspberry Pi 400 ซึ่งทางผมออกตัวได้เต็มปากเลยว่า นี่แหละคือเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาทางด้านวิทยาการคำนวน ที่เหมาะสมกับการเรียนในทุกระดับชั้นจริง ๆ ครับ หน้าตาและคุณสมบัติของมันเป็นอย่างไรมาลองชมไปพร้อม ๆ กันได้เลย
Raspberry Pi 400 นั้นทาง Raspberry Pi Foundation ให้ข้อมูลว่านี่แหละคือ Personal Computer เพื่อการศึกษา(แน่นอนผมเห็นด้วย) ซึ่งดูไปมันก็จะละม้ายคล้ายกับได้แรงบันดาลใจในการออกแบบการใช้งาน มาจากเจ้าคุณปู่ commodore 64 ที่ออกวางจำหน่ายเมื่อช่วงปี 1982 หรือกว่า 40 ปีที่แล้ว อยู่พอสมควรลองเปรียบเทียบกันดูได้ครับเรียกปู่กับหลานได้เต็มปากเลย
แต่สำหรับสเปคนั้นบอกได้เลยครับว่าจัดมาเต็มมาก แรงกว่า Raspberry Pi 4 Model B ที่วางขายในปัจจุบันนี้อีก เรียกว่าได้อานิสงค์มาจากการเปิดตัวของ Raspberry Pi Compute Module 4 มาเต็มๆ สเปคเป็นอย่างไรมาลองดูกันเลยครับ
คือ Raspberry Pi ที่แรงและเร็วที่สุด
จากตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติกับ Raspberry Pi4 Model B ด้านบน สิ่งแรกที่เราเห็นได้ถึงความแตกต่างเลยก็คือตัว SoC ที่เป็น BCM2711C0 เหมือนกับใน Compute Module 4 เลยแต่ว่าได้สัญญาณนาฬิกาที่สูงขึ้นจาก 1.5GHz เป็น 1.8GHz มีการปรับช่องใส่ MicroSD card เป็นแบบ push-push คือกดเพื่อใส่การ์ดเข้าไปและกดซ้ำเพื่อนำการ์ดออกได้เลย และมีปุ่มเปิดปิดมาให้ในตัวเรียบร้อยเลยครับ
RAM ที่ให้มาเป็นขนาด 4GB แบบ DDR4 ซึ่งเพียงพอกับการใช้งานอย่างแน่นอน มาดูทางด้านเน็คเวิร์คกันบ้าง Ethernet เป็นแบบ Gigabit เหมือนกับ Pi 4 ตัว Wireless WiFi เป็น 2.4GHz และ 5GHz แต่ Bluetooth บน Pi 400 นั้นอัพเกรดเป็น Bluetooth 5.1 เป็นที่เรียบร้อย และเนื่องจากมี heatsink ติดตั้งมาเป็นที่เรียบร้อยในตัวนี่อาจเป็นสาเหตุที่ clock ของ Pi 400 ถูกปรับให้สูงขึ้นมาจากค่าเดิมโดยยังทำงานได้เสถียน เดี๋ยวเราลองมาดูกราฟทดสอบค่าอุณหภูมิขณะใช้งานกันดีกว่าครับ
การเชื่อมต่อที่สะดวกและครบครัน
เราลองมาดูเรื่องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆกันครับ เนื่องจาก Raspberry Pi 400 มาในรูปแบบของ Keyboard computer การเชื่อมต่อทั้งหมดเลยอยู่ทางด้านหลังของ Keyboard โดยมี ช่องต่อ GPIO 40 pin ทางซ้ายมือสุด ถัดมาคือช่องสำหรับใส่ MicroSD card ช่องต่อ Micro HDMI อีก 2 ช่อง(ซึ่งให้ความละเอียดสูงสุด 4K)
ช่องต่อ USB-C สำหรับจ่ายไฟให้กับ Pi 400
พอร์ต USB จำนวน 3 พอร์ตโดยแบ่งเป็น USB3.0 2 พอร์ต + USB 2.0 อีก 1 พอร์ต
Ethernet พอร์ต ที่ความเร็ว 1Gbps และสุดท้ายคือช่องสำหรับต่อสายล็อคแบบ kensington lock แบบที่เจอในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คนั่นเอง
โดยสิ่งที่หายไปเลยเมื่อเปรียบเทียบกับบอร์ด Raspberry Pi 4 คือ พอร์ตสำหรับต่อ CSI และ DSI ที่เราใช้ในการต่อกับกล้อง Raspberry Pi Camera และ จอ Raspberry Pi Touch Display นั่นเอง รวมไปถึงระบบเสียงที่จะส่งไปทางพอร์ต HDMI เท่านั้น ช่องต่อหูฟังขนาด 3.5 มมถูกตัดออกไป และเนื่องจากมันเป็น keyboard computer ดังนั้นการจัดวาง layout ของปุ่มที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศก็ทำให้ต้องออกเป็นรุ่นย่อยที่แตกต่างกันออกไป โดยทาง Raspberry Pi Foundation จะทำการวางจำหน่ายทั้งสิ้น 6 layout คือ UK,US,DE,FR,IT และ ES สำหรับภาษาไทยช่วงแรกอาจต้องพึ่ง sticker ภาษาไทยติดที่แป้นพิมพ์ไปก่อนครับ
Previous
Next
หมัดเด็ด บูตตรงจาก USB 3.0 ได้เลย
บน Raspberry Pi 400 นั้นมีพอร์ต USB 3.0 2 พอร์ตที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลส่งถึง 5Gbps ดังนั้นเราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ความเร็วสูงต่าง ๆ ได้สบายซึ่งรวมไปถึง Flash drive และ SSD อีกด้วย โดย USB boot firmware ตอนนี้สามารถใช้งานบน Raspberry Pi OS แล้วซึ่งจากการทดลองมาให้ผลความเร็วที่น่าประทับใจมากครับ แนะนำให้ทดลองกันดู
ปุ่ม Power ในตัวเปิดปิดได้ง่ายกว่าเดิม
เพื่อความใช้งานง่ายขึ้นอีกระดับ เราไม่จำเป็นต้องใช้เม้าส์คลิ้กที่โลโก้ Raspberry Pi เพื่อเลือก shutdown อีกแล้ว และไม่จำเป็นต้องติดตั้ง script หรือทำอะไรเพิ่มเติมเลย โดยเราสามารถที่จะทำได้ทั้ง soft shutdown คือการปิดแบบปกติ หรือ hard shutdown หรือตัดไฟมันไปดื้อๆได้เลยเลย ด้วยการกดปุ่ม Fn พร้อมกับกดปุ่ม F10 ที่อยู่บน keyboard ทำได้ 2 แบบคือ
1) กด Fn+F10 ค้างไว้ > 3 วินาที เราจะเห็นระบบปฎิบัติการ Raspberry Pi OS เริ่มปิดโปรแกรมต่างๆที่เปิดไว้ ปิดไฟล์และ shutdown ตามขั้นตอนปกติ การปิดวิธีนี้ไม่มีอันตรายกับข้อมูลบน MicroSD Card ของเรา
2) กด Fn+F10 ค้างไว้ > 10 วินาที วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ระบบปฎิบัติการค้างไม่ตอบสนองคำสั่งของเรา การกดค้างแบบนี้ไฟที่จ่ายเข้ามาเลี้ยงจะถูกตัดออกไปทันที
และหากเราต้องการที่จะเปิดขึ้นมาใช้งานอีกครั้งก็เพียงแค่กดปุ่ม F10 เท่านั้น Raspberry Pi 400 ก็จะบูตขึ้นมาพร้อมใช้งาน
ราคาและช่องทางจำหน่าย
สำหรับการจัด Raspberry Pi 400 นั้นจากข้อมูลที่ cytron.io ส่งมาให้กับทางเรา จะมีวางจำหน่ายใน 3 รุ่นคือ
1) Raspberry Pi 400 US keyboard layout ราคา $70
ลิ้งค์ผลิตภัณฑ์ : https://www.cytron.io/p-raspberry-pi-400-us?tracking=thpi400
2) Raspberry Pi 400 UK keyboard layout Kit ราคา $100
– RPi-400 Keyboard computer UK layout
– 5V 3A USB Official Power Adapter
– Official USB Mouse
– Micro-HDMI to full-size HDMI white cable, 1m
– 16GB microSD with NOOBS
– A printed copy of Raspberry Pi Beginner Guide, 4th Edition (Raspberry Pi 400)
ลิ้งค์ผลิตภัณฑ์ : https://www.cytron.io/p-kit-rpi400-uk?tracking=thpi400
3) Raspberry Pi 400 US keyboard layout Kit ราคา $100
– RPi-400 Keyboard computer UK layout
– 5V 3A USB Official Power Adapter
– Official USB Mouse
– Micro-HDMI to full-size HDMI white cable, 1m
– 16GB microSD with NOOBS
– A printed copy of Raspberry Pi Beginner Guide, 4th Edition (Raspberry Pi 400)
โดยในขณะนี้ยังไม่มีกำหนดส่งของครับ แต่สำหรับผู้ที่สนใจอยากจับจองสามารถเข้าไปกด “Notify me” ไว้ก่อนได้ถ้าของเข้าแล้วจะได้รับการแจ้งเตือนและจะได้ไปกดซื้อกันได้ทัน
โอเคจากนี้ เรามารับชมวิดีโอแกะกล่องรีวิวที่แรกในไทยไปพร้อม ๆ กันดีกว่าครับ
https://youtu.be/5UTGnwwnXI4
ความคิดเห็นของผู้เขียน
หลังจากทุกท่านได้ดูวิดีโอรีวิวจากเชียงใหม่เมกเกอร์คลับกันไปเรียบร้อยแล้วนั้น ในฐานะที่ผู้เขียนคลุกคลีอยู่กับ Raspberry Pi มาตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก ได้เห็นพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องของบอร์ด Raspberry Pi แต่ยังไม่มีการก้าวครั้งไหนของ Raspberry Pi Foundation ที่คิดว่าทำให้บอร์ดของ Raspberry Pi นั้นเข้าใกล้คำว่าคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาได้มากเท่าครั้งนี้มาก่อน เพราะว่ามันไม่ใช่บอร์ดหน้าตาน่ากลัวที่ผู้ปกครองก็กลัวว่าจะมีอันตรายกับบุตรหลานในตอนเรียนรู้ ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ครูต้องระมัดระวังในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนอีกต่อไป Raspberry Pi 400 ได้เป็นเหมือนกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไปชิ้นหนึ่งแล้ว และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้จะมีบอร์ดทดลองที่ออกแบบมาเพื่อการศึกษาจำนวนมากมายจากหลายผู้ผลิตเข้ามาร่วมใน ecosystem นี้อย่างแน่นอนครับ
ปล. สำหรับคนที่สนใจ Raspberry Pi หลังจากอ่านบทความนี้ทางเมกเกอร์เอเซียของเรามีคอร์สออนไลน์สอนการใช้งาน Raspberry Pi อยู่ที่ [คอร์ส Raspberry Pi] รวมไปถึงชุดการเรียนรู้ที่ใช้งานร่วมกับบอร์ด Raspberry Pi ได้ทุกรุ่นอยู่ที่ [Raspberr Pi HAT easy-eIoT]
Previous
Next