Preview Raspberry Pi CM4 กับรุ่นย่อยทั้ง 32 รุ่น (^_^”)

สวัสดีครับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ชาวเมกเกอร์และผู้ที่สนใจในข่าวคราวของเทคโนโลยีทุกท่าน วันนี้ทางสำนักข่าวเมกเกอร์เอซียของเราก็จะมาเล่าเรื่องของการเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือ Raspberry Pi Compute Module รุ่นใหม่ล่าสุดจากทาง Raspberry Pi Foundation นั่นเองครับ(ปรบมือ ๆ )

ขอเชิญพบกับบอร์ด Raspberry Pi CM4 ที่พึ่งออกจากเตามาสด ๆ ร้อน ๆ กันเลยดีกว่าครับเพื่อนๆ ซึ่งบอร์ดรุ่นนี้เรียกได้ว่าเป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่ของบอร์ดตระกูล Compute Module จากทาง Raspberry Pi Foundation เลยทีเดียวครับ

CM1-3 หน้าตาแบบนี้นะ

เนื่องจากในรุ่นที่ผ่าน ๆ มาเราจะคุ้นเคยกับบอร์ด CM(ขอเรียก CM แทน Compute Module นะครับ) รุ่นเดิมตั้งแต่ CM1 มาจนถึง CM3 ที่มาใน form factor หน้าตาเป็น SODIMM  ที่คนมักจะหยิบผิดไปใส่แทน RAM DDR กันตลอด และไม่มี connectivity อะไรให้ใช้เลยบนบอร์ดตอนออกแบบ mainboard ต้องเอามาใส่เพิ่มกันเอง บน compute module จะมีมาให้แค่ SoC,RAM และ eMMC  หนำซ้ำยังให้ RAM มาจำกัดจำเขี่ยแค่ 1GB มาโดยตลอดจะใช้งานอะไรหนัก ๆ ไม่ได้เลย

หลังจากรับฟังเสียงจากผู้ใช้(น่าจะเสียงบ่น)มาก ๆ เข้า ทาง Raspberry Pi Fundation จึงตัดสินใจออกแบบ บอร์ด CM4 ตัวนี้ โดยทิ้งรูปแบบเก่าไปทั้งหมดออกแบบใหม่ทั้งหมด กลายเป็นบอร์ดขนาด 55mmx40mm จากขา connector ที่เป็น PCB สำหรับไปเสียบกับ socket SODIMM ก็เปลี่ยนเป็น FPC connector ในซีรีส์ DF40 จาก Hirose 2ชุด ชุดละ 100 ขา โดยย้ายตำแหน่งมาอยู่ทางด้านหลังของบอร์ดแทน

ซึ่งคุณสมบัติที่เหลือที่เปลี่ยนไป จะเปลี่ยนอย่างไรบ้างเรามาลองดูไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

ขุมพลังสุดร้อนแรง BCM2711

ใช่ครับบอร์ด CM4 นี้มาพร้อมกับ SoC BCM2711 ตัวเดียวกับบนบอร์ด Raspberry Pi4 เลยสำหรับคนเคยใช้จะรู้กันดีถึงความร้อนและแรงของมัน ทาง Broadcom ได้เลือก ARM A72 64Bit แบบ Qaud-core มาใช้บน BCM2711 ซึ่งที่คล็อค 1.5 GHz นั้นทำให้ CM4 มีความเร็วกว่า CM3+ อยู่ถึง 50% เลยทีเดียว และนอกจากนั้นยังรองรับ RAM ที่ขนาดใหญ่ได้มากกว่า BCM2837 ที่ใช้อยู่บน CM3+ อีกด้วยและเท่านั้นยังไม่พอครับถ้าคุณโทรมาภายใน 30 นาทีนี้ได้ BCM2711 ยังจะให้ความสามารถในการเชื่อมต่อกับ PCIe และ Ethernet controller ในตัวซึ่งแค่ PCIe ก็ทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ความเร็วสูงต่างๆได้มากมาย และด้วย Ethetnet controller ในตัวก็ทำให้เราไม่ต้องไปแชร์แบนด์วิดธ์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เหมือนสมัยต้องใช้  USB to Ethernet controller  แล้วล่ะครับเรียกว่าวิ่งได้เต็มความสามารถของ Gigabit Ethernet ได้ซักที

RAM แบบเลือกได้ขนาดสูงสุดถึง 8GB

และด้วยอานิสงค์ของการเลือกใช้ SoC BCM2711 ทำให้ CM4 นั้นใช้ RAM LPDDR4-3200 SDRAM โดยมีขนาดหน่วยความจำมีให้เลือกได้ตั้งแต่ 1GB,2GB,4GB และ 8 GB กันไปเลย สำหรับใครที่เคยปรามาสว่า CM RAM มันน้อยวันนี้ต้องถอนคำพูดแล้วครับ เรียกได้ว่าแบ่งรุ่น RAM ออกมาเหมือนกับบอร์ด Raspberry Pi4 เลยครับ เลือกตามลักษณะการใช้งานได้เต็มที่ใช้น้อยก็จ่ายน้อยได้ อยากได้ RAM มากๆก็ควักอีกหน่อย

eMMC เร็วกว่าเดิม 4 เท่า

CM4 จะมีการแบ่งรุ่นตั้งแต่รุ่น Lite ที่ไม่มี eMMC และสำหรับรุ่นที่มี eMMC นั้นจะมีความจุให้เลือกตั้งแต่ 8GB,16GB,32GB โดย eMMC ที่ใช้จะมี Peak bandwidth อยู่ที่ 100MBytes เลยทีเดียวครับ ซึ่งเร็วกว่าบน CM3+ ถึง 4 เท่า และถ้าเราลองนึกภาพตามง่าย ๆ ก็คือเร็วกว่า  SDcard แบบ A1 ที่เรานิยมใช้กับ Pi ตอนนี้ประมาณ 10 เท่า เรียกได้ว่าอ่านเขียนทันใจแน่นอนครับ

มาพร้อม Connectivity แล้วนะรุ่นนี้

หลังจากทำตัวเป็น introvert มานาน เจ้าตัว CM4 ก็ยอมปรับตัวเข้ากับโลก โดยจัดมาให้ทั้ง Gigabit Ethernet, WiFi 2.4 GHz, 5.0 GH และ Bluetooth 5.0 BLE และความสามารถพิเศษมากที่ทุกคนรอคอยมานานตั้งแต่ Raspberry Pi มี Wireless ติดตั้งมาบนบอร์ด ก็คือการความสามารถเชื่อมต่อสายอากาศภายนอก โดยบน CM4 นั้นเราจะสามารถเชื่อมต่อสายอากาศภายนอกได้ด้วย connector UFL  โดยใช้ onboard electronic switch ในการเลือกได้ว่าจะใช้สายอากาศภายในหรือภายนอก อันนี้เราตั้งค่าใน /boot/config.txt ได้เลยว่าจะบูตแล้วใช้เสาไหน

 *** แต่ก็มีรุ่นที่ไม่มี Wireless ขายด้วยนะ

มี USB2.0 มาให้ 1 พอร์ตซึ่งสามารถเป็น OTG ได้ด้วย และในส่วนของ  PCIe นั้นเป็น Gen 2 ที่ความเร็ว 5Gbps

Connector แบบใหม่ DF40 จาก Hirose

IO จัดเต็ม

ด้วย IO จำนวน 200 ขา (2 ชุด ชุดละ 100 ขา)บน FPC connector แบบ DF40 จาก Hirose  เราจะสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) GPIO จำนวน 28 ขา ซึ่งสามารถที่จะใช้งานเป็น IO ธรรมดาหรือเป็นหน้าที่ต่างๆได้ดังนี้
    – UART ถึง 6 ชุดเรียกว่าต่ออุปกรณ์ที่เป็น Serial กันได้จุใจ
    – I2C ก็ได้ 6 ชุดเหมือนกัน
    – SPI ได้ถึง 5 ชุด
    – SDIO 1 ชุด
    – DPI สำหรับต่อจอแบบ Parallel RGB 1 ชุด
    – PCM 1 ช่อง
    – PWM 2 ช่อง
    – GPCLK 3 ช่อง 

2) HDMI 2.0 2 พอร์ต รองรับความละเอียดที่ 4K 60FPS

3) MIPI DSI สำหรับต่อจอแบบ DSI (Display Serial Interface)
    – 2-lane MIPI DSI 1 พอร์ต
    – 4-lane MIPI DSI 1 พอร์ต

4) MIPI CSI สำหรับต่อกล้อง
    – 2-lane MIPI CSI 1 พอร์ต
    – 4-lane MIPI CSI 1 พอร์ต

5) ขา SDIO พิเศษสำหรับ CM4 lite เท่านั้นไม่งั้นต่อ SDcard ใช้งานไม่ได้ 

แล้วตกลง 32 รุ่นแบ่งยังไงบ้าง?

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและการจดจำ combination ของ CM4 ทั้ง 32 รุ่นของเราเกิดจาก 
1) มีWireless/ไม่มี [2]

2) RAM 1 2 4 8 [4]

3) eMMC ไม่มี,4,8,16 [4]

รวมกันได้เป็น 2x4x4 = 32 รุ่นพอดีแบ่งตามคุณสมบัติที่แตกต่างกันที่เป็นไปได้ทั้งหมด

รุ่นก็จะเยอะๆหน่อย
รุ่นไม่มี Wireless
รุ่นมี Wireless
รุ่นนี้มี Wireless แต่ไม่มี eMMC

Previous
Next

อุปกรณ์เสริม

การใช้งานบอร์ด CM4 นั้นเราต้องมี mainboard เพื่อใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั้งหลาย ซึ่งก็แล้วแต่ว่าเราจะออกแบบเพื่อนำไปใช้งานประเภทใด แต่หากว่าเราอยากได้บอร์ดเพื่อให้เราสามารถทดลองใช้งาน CM4 เพื่อทดสอบโซลูชั่นต่างๆก่อนที่จะออกแบบบอร์ดหลักจริงๆขึ้นมา ทาง Raspberry Pi Foundation เองก็เข้าใจในจุดนี้จึงได้ออกบอร์ด CM4 IO board ขึ้นมาให้ได้ใช้ในการทดลองกันก่อนได้ โดยบอร์ด CM4 IO board นี้จะมีคุณสมบัติดังนี้

คุณสมบัติของ CM4 IO board

1) ช่องต่อพอร์ต DSI และ CSI อย่างละ 2 ช่อง

2) ช่องต่อ PCIe Gen2 1 ช่อง สามารถต่ออุปกรณ์ PCIe ได้แต่ Driver อาจต้องดูแลเอง แน่นอนว่าต่อ SSD NVME ได้แต่ว่าตอนนี้ CM4 bootloader ยังไม่รองรับ NVME drive

3) ช่องต่อพัดลม 12V แบบมาตรฐานสามารถปรับความเร็วรอบได้ควบคุมด้วย IC EMC2301  ผ่าน I2C

4) วงจร RTC พร้อมช่องใส่ถ่านกระดุม โดยใช้ IC RTC เบอร์ PCF85063AT ทำให้สามารถตั้งเวลาเปิดบอร์ด CM4 ได้และสามารถใช้งานเป็นวงจร Watchdog ได้ด้วย

5) ขั้วต่อไฟ 12VDC ขนาด 5.5mm*2.1mm เพื่อใช้แปลงเป็น 5V ไปเลี้ยงบอร์ด CM4 และใช้ไฟ 12V ไปเลี้ยง PCIe และพัดลม

6) พอร์ต Micro USB สำหรับใช้ในการติดตั้ง OS ผ่าน rpiboot

7) ช่องต่อ MicroSD card สำหรับรุ่น CM4 Lite ที่ไม่มี eMMC 

8) พอร์ต Gigabit Ethernet

9) HDMI ขนาดมาตรฐาน 2 ช่อง

10) พอร์ต USB2.0 2 ช่อง

11) ขาต่อ Raspberry Pi HAT 40 ขามาตรฐาน

12) Jumper สำหรับตั้งค่าต่าง ๆ เช่นแรงดันของขา IO , disable WiFi

Capture3
Capture2
Capture

Previous
Next

สายอากาศภายนอก

อย่างที่เล่าไปแล้วว่า CM4 รุ่น WiFi นั้นเราสามารถต่อสายอากาศภายนอกได้ ซึ่งการเชื่อมต่อทำได้ผ่านทาง UFL connector อันที่จริงสายอากาศแบบนี้พอหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เน็ตเวิร์คทั่วไป แต่ถ้าจะสั่งพ่วงไปพร้อมกันทั้ง CM4,CM4 IO board เลยก็ได้ครับสะดวกดี

Capture2
Capture1
Capture

Previous
Next

ราคาและสถานที่จำหน่าย

มาถึงบรรทัดนี้หลังจากได้รู้จักกับบอร์ด CM4 และอุปกรณ์เสริมครบแล้ว ทุกคนคงมีคำถามเรื่องราคาในใจ งั้นเรามาดูราคากันดีกว่าครับ

สำหรับราคาเริ่มต้นของ CM4 รุ่น lite คือไม่มี eMMC ไม่มี Wireless และ RAM 1GB ราคาขายคือ $25

สำหรับรุ่นมี Wireless ราคาจะบวกเพิ่ม $5 ซึ่งถือว่าถูกกว่าไปซื้อ Wireless โมดูล มาใส่เองอีกครับ

โดยราคาของแต่ละรุ่นราคาจะบวกขึ้น option ละ $5 ไปเรื่อยๆ จนไปจบที่ $90 สำหรับ 
CM4 Wireless RAM 8 GB eMMC 32GB สามารถดูราคาทั้งหมดตามตารางทางด้านล่างครับ

Capture
Capture2

Previous
Next

สำหรับช่องทางการซื้อนั้นตอนนี้ที่ cytron.io เองของยังไม่เข้า แต่สามารถเข้าไปกด “Notify me” ไว้ก่อนได้ครับ เวลาของเข้าแล้วจะได้ซื้อตัดหน้าเพื่อนได้ และคิดว่าอีกไม่นานตัวแทนในไทยก็น่าจะเริ่มมีเข้ามาจำหน่ายกัน

CM4 รุ่นมี Wireless ทุกขนาด RAM และทุกขนาด eMMC
https://www.cytron.io/p-cm4-w?tracking=thcm4

CM4 รุ่นไม่มี Wireless ทุกขนาด RAM และทุกขนาด eMMC
https://www.cytron.io/p-cm4-nw?tracking=thcm4

CM4 IO board
https://www.cytron.io/p-rpi-cm4-iob?tracking=thcm4

สายอากาศ 2.4GHz
https://www.cytron.io/p-rpi-cm4-ufla?tracking=thcm4

Leave a Comment