เป็นเวลากว่า 6 ที่ Raspberry Pi เข้ามาเป็น Single board Computer ในดวงใจของบรรดา Maker และผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งด้วยความที่เป็นบอร์ดที่ทำงานบนระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ยังต้องใช้เวลาในการบูตระบบ และการทำงานแบบ realtime ต่างๆยังทำไม่ได้เหมือนบนบอร์ด Microcontroller ทำให้บางครั้งยังต้องใช้ร่วมกับบอร์ด Microcontroller เช่น Arduino หรือ Microbit อยู่ดี
ในที่สุด Raspberry Pi Foundation ก็ได้เปิดตัวบอร์ด Microcontroller ของตัวเองออกมาในที่สุดกับบอร์ด Raspberry Pi Pico ซึ่งออกแบบใหม่หมดจดจากทาง Raspberry Pi Foundation ซึ่งบอร์ดนี้จะหน้าตาเป็นเช่นไร คุณสมบัติเป็นอย่างไรบ้างมาลองอ่านกันดูครับ
คุณสมบัติ
– MCU ตัวใหม่ RP2040 พร้อม flash ขนาด 2MByte
ซึ่งจริงๆตัวนี้เป็น ARM Dual-core cortex M0+ ที่สัญญาณนาฬิกา 133MHz
พร้อม SRAM ขนาด 264K
– Micro-USB B port สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม
– ขาใช้งานจำนวน 40 ขา
2×SPI, 2×I2C, 2×UART, 3×12-bit ADC, 16×controllable PWM
– ขา GPIO ใช้งานได้ถึง 26 ขาแบบกำหนดค่าการใช้งานได้ทำงานที่แรงดัน 3.3 V
– ขา ADC จำนวน 3 ขา
– ขา SWD สำหรับ debug
– upload โปรแกรมได้ง่ายด้วยการ Drag&Drop
– ราคาประหยัดประมาณ 4$
ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา
Raspberry Pi Pico มาพร้อมกับความพร้อมในการเขียนโปรแกรม โดยมีทางเลือกในการพัฒนาได้ 2 ภาษาคือ
1) ภาษา C/C++ ซึ่งมาพร้อม SDK ขนาด 235 หน้าเด็กๆ อาจข้ามหัวข้อนี้ไปได้เลย สำหรับการใช้งานบน Arduino น่าจะตามมาเร็วๆนี้
2) ภาษา MicroPython โดยสามารถ git มาติดตั้งได้จาก github.com:raspberrypi/micropython.git สามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือใช้งานบน Raspberry Pi OS ได้ทันที
สามารถอ่านรายละเอียดในการพัฒนาทั้งหมดได้ที่ https://www.raspberrypi.org/documentation/pico/getting-started
อยากได้ทำไง
ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านที่จำหน่าย Raspberry Pi ทั่วไปได้เลยครับ
เช่น
ที่ Cytron ซึ่งมีจำหน่ายทั้งรุ่นไม่ไ่ด้บัดกรีขา
1) https://www.cytron.io/p-rpi-pico-b
และรุ่นบัดกรีขามาแล้ว
2) https://www.cytron.io/p-rpi-pico-sh
ความเห็นของผู้เขียนส่วนตัวก็คิดว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Arduino เลย แต่การใช้งานยังขาดเรื่อง connectivity อยู่ซึ่งในอนาคตน่าจะมี expansion board มาช่วยในส่วนนี้ในอนาคต เพราะ Spec ของ MCU โหดอยู่น่าใช้มาก เพราะพัฒนามาพิเศษสำหรับ Raspberry Pi Foundation เลยน่าจะมีพวกข้อมูลและตัวอย่างการใช้งานต่างๆตามออกมาอีกมากมายตามสไตล์ Raspberry Pi ครับ
แนะนำให้ลองหามาทดลองเล่นกันดูเพราะยังไงการเขียนโปรแกรมได้ก็เป็นอนาคตที่ดีของบุตรหลานเราแน่นอน